ค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ
1. มีความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ 2. ซื่อสัตย์ เสียสละ อดทน มีอุดมการณ์ในสิ่งที่ดีงามเพื่อส่วนรวม 3. กตัญญูต่อพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูบาอาจารย์ 4. ใฝ่หาความรู้ หมั่นศึกษาเล่าเรียนทั้งทางตรง และทางอ้อม 5. รักษาวัฒนธรรมประเพณีไทยอันงดงาม 6. มีศีลธรรม รักษาความสัตย์ หวังดีต่อผู้อื่น เผื่อแผ่และแบ่งปัน 7. เข้าใจเรียนรู้การเป็นประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่ถูกต้อง 8. มีระเบียบวินัย เคารพกฎหมาย ผู้น้อยรู้จักการเคารพผู้ใหญ่ 9. มีสติรู้ตัว รู้คิด รู้ทำ รู้ปฏิบัติตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 10. รู้จักดำรงตนอยู่โดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามพระราชดำรัสของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รู้จักอดออมไว้ใช้เมื่อยามจำเป็น มีไว้พอกินพอใช้ ถ้าเหลือก็แจกจ่ายจำหน่าย และพร้อมที่จะขยายกิจการเมื่อมีความพร้อม เมื่อมีภูมิคุ้มกันที่ดี 11. มีความเข้มแข็งทั้งร่างกาย และจิตใจ ไม่ยอมแพ้ต่ออ านาจฝ่ายต่ า หรือกิเลส มีความละอายเกรงกลัวต่อบาปตามหลักของศาสนา 12. คำนึงถึงผลประโยชน์ของส่วนรวม และของชาติมากกว่าผลประโยชน์ของตนเอง
ว.วชิรเมธี เผย ค่านิยม 12 ประการ คสช. คล้ายหลักธรรมะ แนะเหมาะ
กับฟื้นจริยธรรมให้สังคมในขณะนี้ แล้วค่านิยม 12 ประการของ คสช. มีอะไรบ้าง มาดูกัน
หลังจากที่ทาง คณะรักษาความสงบแห่งชาติ คสช. ได้มอบค่านิยม
12 ประการ ให้ทุกหน่วยทหาร กำลังพล และครอบครัว เพื่อให้ยึดถือและปฏิบัติตาม เพื่อเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรมอันดีงามให้กับสังคมไทย พร้อมกับให้สอด แทรกค่านิยมหลัก 12 ประการ ไว้ในหลักสูตรทหาร รวมถึงให้รณรงค์เผยแพร่ค่า นิยมนี้อย่างกว้างขวาง เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2557 ที่ผ่านมา
ล่าสุด (18 สิงหาคม 2557) พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี ผู้อำนวยการ
สถาบันวิมุตตยาลัย หรือ ว.วชิรเมธี ได้กล่าวในรายการเดินหน้าประเทศไทย ถึงเรื่อง "ค่านิยมหลักคนไทย เพื่อประเทศไทยเข้มแข็ง" ว่า นโยบายการสร้าง ค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. นั้น เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับหลักธรรมะ ถือว่ามีความคล้ายเคียงกัน เพราะเป็นหลักจริยธรรมที่ทุกคนควรยึดถือและประพฤติปฏิบัติ ซึ่งตนมองว่า ขณะนี้ถือว่าเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมที่จะฟื้นฟูค่านิยมเหล่านี้ให้กลับคืนสู่สังคมไทย
พระมหาวุฒิชัย กล่าวต่อว่า การสร้างค่านิมให้ประสบผลสำเร็จนั้น
ต้องปลูกฝังลงไปในรากฐานจิตใจของเด็กและเยาวชน โดยผู้ใหญ่จะต้องเป็น แบบอย่างที่ดีให้ด้วย ขณะเดียวกัน สื่อมวลชนและโรงเรียนก็ต้องร่วมปลูกฝัง เช่นกัน ด้วยการ "อบรม บ่มเพาะ" เริ่มต้นจากการจุดประกายให้คนรับรู้ จากนั้นนำ ไปสู่การพัฒนาและต่อยอดจนกลายเป็นวัฒนธรรม
อาขยานค่านิยม 12 ประการ
|
วันพฤหัสบดีที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2558
ใบงานที่ 5 ค่านิยม 12 ประการ
วันพฤหัสบดีที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2558
ใบงานที่ 4 พรบ. คอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550
พรบ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ๒๕๕๐
มาตราต่างๆ ของพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐ ที่เกี่ยวข้องกับผู้ใช้ มีดังนี้
• มาตรา ๕ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
• มาตรา ๖ ผู้ใดล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะถ้านำมาตรการดังกล่าวไปเปิดเผยโดยมิชอบในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
• มาตรา ๗ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
• มาตรา ๘ ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อดักรับไว้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่อยู่ระหว่างการส่งในระบบคอมพิวเตอร์ และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นมิได้มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือเพื่อให้บุคคลทั่วไปใช้ประโยชน์ได้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
• มาตรา ๙ ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
• มาตรา ๑๐ ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบ เพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวนจนไม่สามารถทำงานตามปกติได้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
• มาตรา ๑๑ ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่นโดยปกปิดหรือปลอมแปลงแหล่งที่มาของการส่งข้อมูลดังกล่าว อันเป็นการรบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นโดยปกติสุข ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
• มาตรา ๑๒ ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา ๙ หรือมาตรา ๑๐
(๑) ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน ไม่ว่าความเสียหายนั้นจะเกิดขึ้นในทันทีหรือ ในภายหลังและไม่ว่าจะเกิดขึ้นพร้อมกันหรือไม่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท
(๒) เป็นการกระทำโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือการบริการสาธารณะ หรือเป็นการกระทำต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสามแสนบาทถ้าการกระทำความผิดตาม (๒) เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบปีถึงยี่สิบปี
(๑) ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน ไม่ว่าความเสียหายนั้นจะเกิดขึ้นในทันทีหรือ ในภายหลังและไม่ว่าจะเกิดขึ้นพร้อมกันหรือไม่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท
(๒) เป็นการกระทำโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือการบริการสาธารณะ หรือเป็นการกระทำต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสามแสนบาทถ้าการกระทำความผิดตาม (๒) เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบปีถึงยี่สิบปี
• มาตรา ๑๔ ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
(๑) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน
(๒) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน
(๓) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา
(๔) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่มีลักษณะอันลามกและข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้
(๕) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (๑) (๒) (๓) หรือ (๔)
(๑) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน
(๒) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน
(๓) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา
(๔) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่มีลักษณะอันลามกและข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้
(๕) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (๑) (๒) (๓) หรือ (๔)
• มาตรา ๑๖ ผู้ใดนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติมหรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นใด ทั้งนี้ โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
เรามาทำความเข้าใจง่ายๆเกี่ยวกับพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 กันเถอะ
วันจันทร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2558
บทความและสารคดี
ใบงานที่3 บทความและสารคดี
10 เทคนิควิธีพูดอังกฤษให้ไหลลื่น..สำเนียงเลิศ
http://waiwaiworld.com/wp-content/uploads/2014/03/Thai-UK-Flag.jpg
“อยากพูดอังกฤษให้เก่งต้องหัดพูด" แต่จะหัดพูดอย่างไรให้ได้ผล? หลายคนยังหาคำตอบไม่เจอว่าที่ผ่านมาฝึกกันอย่างถูกวิธีหรือยัง เพราะส่วนใหญ่คนที่พูดภาษาอังกฤษไม่เก่ง มักประสบปัญหาคล้ายๆ กัน คือ เวลาที่ฝรั่งถามมา จะตอบได้แค่เพียงประโยคสั้นๆ อยากพูดยาวๆ แต่ก็พูดไม่ได้ ทั้งๆ ที่รู้ว่าภาษาไทยต้องตอบยังไง อยากจะพูดใจแทบขาด แต่ก็ตอบได้แบบตะกุก..ตะกัก ถามคำตอบคำ มันทำให้เราขาดความมั่นใจ ทั้งที่เราเก่งศัพท์ ท่องหลักไวยากรณ์มาแล้วเป็นเวลาหลายสิบปี แต่ก็ยังพูดไม่ได้อยู่ดีต้องทำยังไง? วันนี้ Life on campus มีสูตรเด็ดเคล็ดไม่ลับพูดอังกฤษอย่างไรให้ไฟแลบมาฝาก ไม่ต้องอ่า..ไม่ต้องเอ่อ..กันให้เสียเวลาไปฝึกพร้อมๆ กันเลย
1. อย่ากลัวความผิดพลาดและกังวลกับหลักไวยากรณ์มากเกินไป
ปัญหาใหญ่สำหรับคนที่กำลังหัดพูดภาษาอังกฤษที่ฝรั่งมักจะเรียกว่าเป็นอาการ “mental blocks” คือมีบางสิ่งในจิตใจที่ขัดขวางทำให้ไม่สามารถเข้าใจหรือทำอะไรบางอย่างได้
กลัวว่าจะพูดผิด อายถ้าพูดประโยคภาษาอังกฤษได้ไม่สมบูรณ์แบบและไม่ถูกต้องเป๊ะๆ
ตามหลักไวยากรณ์ ที่ท่องกันเป็นนกแก้วนกขุนทอง
ความกังวลเหล่านั้นจะทำให้คุณรู้สึกอึดอัดและพูดไม่ได้สักที จำเอาไว้ว่า “การสื่อสารเป็นเรื่องสำคัญมากกว่าความสมบูรณ์แบบ”
ลองนึกภาพ คนๆ หนึ่งพูดว่า “Yesterday
I go to party in beach.” ซึ่งประโยคนี้ผิดหลักไวยากรณ์แน่ๆ ที่ถูกต้องคือ “Yesterday
I went to a party on the beach.” แต่ทั้งสองประโยคกลับสื่อสารได้ความเดียวกันว่า “เมื่อวานฉันไปปาร์ตี้ที่ชายหาดมา” ความผิดพลาดไม่ใช่สิ่งร้ายแรง
ก็แค่ลองใหม่แก้ไขไปเรื่อยๆ หายใจเข้าลึกๆ
อย่าอายถ้ามันจะผิดพลาดหรือไม่ถูกหลักไวยากรณ์นัก
เพราะการสื่อสารให้เข้าใจกันเป็นสิ่งสำคัญที่สุดจำไว้
2. เริ่มต้นจากการฟัง
อยากพูดภาษาอังกฤษให้คล่องเราต้องเริ่มฟังกันก่อน ไม่ว่าจะเป็นบทสนทนาภาษาอังกฤษ หรือจะดูหนัง ฟังเพลง เลือกแบบที่เราชอบได้เลย สำหรับคนที่ไม่มีพื้นฐานภาษาอังกฤษเลยควรเริ่มจากการฟังบทสนทนาง่ายๆ ก่อน จะช่วยให้เราคุ้นเคยกับสำเนียงของเจ้าของภาษา และยังได้เรียนรู้ศัพท์ภาษาอังกฤษที่ใช้ในการพูดทั่วๆ ไปด้วย ต่างจากการดูหนัง หรือฟังเพลงภาษาอังกฤษ เพราะอาจจะมีการใช้คำยากๆ ซึ่งสำหรับคนที่ไม่มีพื้นฐานมาดีพอ แทนที่จะได้ฝึกการฟังกลับต้องมาคอยเปิด Dictionary ตีความหมายแทน
เคล็ดลับในการฟังให้ได้ผลก็คือ “ฟังอย่างเข้าใจ และฟังอย่างต่อเนื่อง” เข้าใจคือเลือกฟังอะไรที่ง่ายไม่ยากเกินไป อย่างเช่น ข่าวภาษาอังกฤษที่ทั้งยากและเร็ว ฟังกี่ปีกี่ชาติก็ไม่มีวันเข้าใจ ฟังมากแค่ไหนก็ไม่ช่วยอะไร ดังนั้นเลือกง่ายๆ เข้าไว้แล้วค่อยพัฒนาขึ้นไปเรื่อยๆ จะดีกว่า และฟังอย่างต่อเนื่อง วันละ 1-2 ชั่วโมง สามารถแบ่งเป็นเช้า 20 นาที เที่ยง 20 นาที และเย็นอีก 20 นาที ก็ได้ ตามสะดวกแต่เน้นว่าต้องฟังทุกวัน ห้ามวันเว้นวันโดยเด็ดขาด แล้วคุณจะเห็นผลที่ตามมาในมีกี่สัปดาห์ คอนเฟิร์ม!!!
3. ฟังแล้วตอบ
การฟังเพื่อให้เราเข้าใจภาษาอังกฤษได้มีประสิทธิภาพและสามารถโต้ตอบได้ ไม่ใช่ฟังซ้ำๆ หลายๆ ครั้ง เพื่อให้จำเพียงอย่างเดียว แต่เป็นการ “ฟังและตอบคำถาม” ในขั้นตอนแรกของการฝึกพูดภาษาอังกฤษให้ดี นั่นคือ การฟังจากบทสนทนาภาษาอังกฤษง่ายๆ เมื่อเราฟังแล้ว ลอง “Pause” ในช่วงของคำตอบ แล้วฝึกตอบอย่างรวดเร็ว จากคำถามที่เราฟัง ฝึกให้เร็วขึ้นโดยไม่ต้องคิด ภาษาอังกฤษของคุณก็จะกลายเป็นระบบอัตโนมัติไปโดยปริยาย หรือลองฝึกด้วยการหาติวเตอร์ชาวต่างชาติมาช่วยเล่าเรื่องราวสักหนึ่งเรื่อง เริ่มจากง่ายๆ ก่อน เมื่อเล่าจบให้เขาลองถามคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่เล่าให้ฟัง จะทำให้คุณคิดคำตอบได้อย่างรวดเร็วนั่นเอง
การฟังเพื่อให้เราเข้าใจภาษาอังกฤษได้มีประสิทธิภาพและสามารถโต้ตอบได้ ไม่ใช่ฟังซ้ำๆ หลายๆ ครั้ง เพื่อให้จำเพียงอย่างเดียว แต่เป็นการ “ฟังและตอบคำถาม” ในขั้นตอนแรกของการฝึกพูดภาษาอังกฤษให้ดี นั่นคือ การฟังจากบทสนทนาภาษาอังกฤษง่ายๆ เมื่อเราฟังแล้ว ลอง “Pause” ในช่วงของคำตอบ แล้วฝึกตอบอย่างรวดเร็ว จากคำถามที่เราฟัง ฝึกให้เร็วขึ้นโดยไม่ต้องคิด ภาษาอังกฤษของคุณก็จะกลายเป็นระบบอัตโนมัติไปโดยปริยาย หรือลองฝึกด้วยการหาติวเตอร์ชาวต่างชาติมาช่วยเล่าเรื่องราวสักหนึ่งเรื่อง เริ่มจากง่ายๆ ก่อน เมื่อเล่าจบให้เขาลองถามคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่เล่าให้ฟัง จะทำให้คุณคิดคำตอบได้อย่างรวดเร็วนั่นเอง
4. เรียนรู้เป็นภาพ ไม่ใช่ตัวอักษร
ก่อนที่จะพูดภาษาอังกฤษได้ต้องมีการซ้อม การเตรียมความพร้อม ต้องถามตัวเองก่อนว่ามีคลังคำศัพท์มากพอหรือยัง? เหตุผลหนึ่งที่ทำให้เราไม่สามารถสื่อสารหรือพูดภาษาอังกฤษได้นั้นเพราะเราไม่รู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษเลยไม่รู้ว่าจะตอบฝรั่งชาวต่างชาติได้อย่างไร ท่องจำกันตั้งแต่เล็กจนโตก็จำได้บ้างไม่ได้บ้าง ถึงเวลาจริงก็นึกไม่ออกไม่รู้จะหยิบคำไหนมาใช้ ดังนั้น ต่อไปนี้เราต้องมาเรียนรู้และจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษในรูปแบบใหม่ “เลิกท่องศัพท์ ถ้าอยากพูดภาษาอังกฤษได้” เอ๊ะ...ยังไง!!!
ต้องเลิกท่องคำศัพท์เป็นคำๆ ท่อง 1,000 คำ ก็จำไม่ได้เชื่อเถอะ ลองหันมาใช้วิธีการเรียนรู้คำศัพท์เป็นภาพ และเรื่องราวแทนการจดคำศัพท์เป็นลิสต์ยาวๆ พร้อมคำแปล แล้วนั่งท่องนอนท่อง วิธีนั้นลืมไปได้เลย ลองเปลี่ยนมาเป็นการเรียนรู้คำศัพท์แบบเป็นวลี ไม่จำเป็นคำๆ เวลาที่เจอคำศัพท์ใหม่ๆ ให้จดลงในสมุดโน้ต พร้อมกับวลีสั้นๆ จะทำให้การพูดและหลักไวยากรณ์ของคุณดีขึ้นอย่างรวดเร็ว
5. หยุดท่องหลักไวยากรณ์
เด็กไทยส่วนเริ่มเรียนภาษาอังกฤษมาพร้อมๆ กับการเริ่มท่องกฎไวยากรณ์ “S. + V.to be + V.เติม ing” เป็น Present Continuous Tense ท่องๆ ไปเรื่อยๆ พร้อมกับคำศัพท์รูปกริยาที่เปลี่ยน ช่อง 1, 2, 3 ถ้าเริ่มต้นด้วยวิธีท่องหลักไวยากรณ์แล้ว 60 เปอร์เซนต์ จะคุยกับฝรั่งไม่ได้เลย อีก 30 เปอร์เซนต์ จะแค่พอพูดได้แบบตะกุกตะกัก ซึ่งมีเพียง 10 เปอร์เซนต์เท่านั้น ที่สามารถพูดภาษาอังกฤษได้อย่างคล่องแคล่ว สำเนียงเป๊ะ เด็กอเมริกันแท้ๆ ไม่เคยต้องเรียนGrammar จนกระทั่งถึงมัธยม บางคนเพิ่งมาเริ่มเรียน Present Tense ตอนอายุ 15-16 ปีแล้ว ด้วยซ้ำ
ถ้าจะฝึกพูดภาษาอังกฤษให้ได้ต้องหยุดท่องหลักไวยากรณ์ เพราะนั่นเป็นวิธีที่ผิด เด็กๆ ชาวต่างชาติจะพูดภาษาอังกฤษจากการเรียนรู้เองโดยธรรมชาติ จากการฟัง สังเกตและเลียนเสียงพูดจนคล่องก่อนจะเริ่มเรียนหลักไวยากรณ์ เหมือนเด็กไทยที่เรียนรู้และพูดคำว่า “แม่” จากการฟังและฝึกออกเสียง แล้วค่อยมาเรียนรู้วิธีการผสมคำในภายหลังนั่นเอง จริงๆ แล้วก็ใช้หลักในการเรียนรู้ภาษาเหมือนกันทั่วโลก
6. เรียนรู้แบบช้าๆ แต่ลึกซึ้ง
เคล็ดลับที่จะทำให้คุณพูดภาษาอังกฤษได้อย่างง่ายดายนั่นก็คือ การเรียนรู้ทุกคำ และทุกวลีอย่างลึก (Deeply) ไม่ใช่แค่เรียนรู้ความหมาย ไม่ใช่แค่จำเพื่อไปทำข้อสอบ แต่คุณจะต้องเรียนรู้มันอย่างลึกซึ้ง ลึกลงไปในสมอง การพูดภาษาอังกฤษให้ได้ง่ายคุณต้องทำซ้ำหลายๆ ครั้ง ในแต่ละบทเรียน ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณมีหนังสือบทสนทนาภาษาอังกฤษ 1 เล่ม ในบทแรกให้ฟัง 30 ครั้ง ก่อนที่จะผ่านไปบทที่ 2 โดยสามารถแบ่งเป็น 3 ครั้งในแต่ละวัน ให้ทำแบบนี้ไปจนครบ 10 วัน ต่อหนึ่งบท อย่าเพิ่งท้อ ท่องไว้ช้าๆ ได้พร้าเล่มงาม ฟังจนฝังลึกลงไปในสมอง ไม่ง่ายแต่ก็ไม่ยากจนเกินไปขอเพียงตั้งใจจริง
7. อย่าแปลเป็นไทย
สาเหตุที่คนไทยส่วนใหญ่พูดภาษาอังกฤษไม่ได้แม้ว่าอาจจะฟังออกก็ถาม นั่นก็คือ การแปลประโยคต่างๆ เป็นภาษาไทยก่อนตอบ ซึ่งการพูดได้อย่างเป็นอัตโนมัติคือ ฟัง-คิด-พูด ต้องเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด โดยไม่มีการแปลเป็นไทยในหัว เพราะฉะนั้น เราควรพยายามแปลเป็นไทยให้น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ระบบที่คนไทยส่วนใหญ่คิดคือ ฟังภาษาอังกฤษเข้าหูปุ๊บมาแปลเป็นไทย คิดคำตอบภาษาไทย แล้วแปลตอบออกไปเป็นภาษาอังกฤษอีกที ซึ่งกว่าจะหลุดคำตอบออกมาได้ต้องผ่านขั้นตอนหลายอย่าง ผลคือพูดออกมาแบบตะกุกตะกัก ไม่ไหลลื่นและเป็นธรรมชาติ วิธีการเรียนภาษาที่ถูกต้องก็คือ ต้องพยายามแปลให้น้อยที่สุดหรือไม่แปลเลยได้ยิ่งดี เน้นความเข้าใจความหมายเป็นภาพของมันจริงๆ
8. เรียนรู้ที่จะคิดให้เป็นภาษาอังกฤษ
หนึ่งในกุญแจสำคัญที่จะทำให้คุณพูดภาษาอังกฤษได้นั่นก็คือ “การคิดให้เป็นภาษาอังกฤษ” อีกหนึ่งวิธีที่ดีที่สุดที่ในการเรียนรู้ และจะทำให้คุณพูดได้อย่างง่ายดาย ไม่ต้องอายถ้าเกิดความผิดพลาดขึ้นมา เพราะไม่มีใครรู้!!!! โดยคุณสามารถทำตามกระบวนการและขั้นตอนได้ ดังนี้
Level 1 : คิดคำศัพท์ภาษาอังกฤษในแต่ละวันของคุณ
เมื่อคุณตื่นขึ้นมาในตอนเช้าให้คิดคำศัพท์ขึ้นมา 1 ชุด เช่น
bed, toothbrush, bathroom, eat, banana, coffee, clothes, shoes
หรือถ้าคุณกำลังนั่งทำงานอยู่ก็คิดถึงคำศัพท์ขึ้นมาอีก 1 ชุด
car, job, company, desk, computer, paper, pencil, colleague, boss
Level 2 : ลองเอาคำศัพท์มาแต่งให้เป็นประโยค
เมื่อคุณกำลังนั่งกินอาหารกลางวันอยู่ คิด…
• I’m eating a sandwich.
• My friend is drinking soda.
• This restaurant is very good.
ขณะที่คุณกำลังนั่งดูทีวีอยู่ คิด…
• That actress is beautiful.
• The journalist has black hair.
• He’s talking about politics.
Level 3 : สุดท้ายจินตนาการประโยคภาษาอังกฤษทั้งหมดให้เป็นเรื่องราวขึ้นมาในหัวของคุณ โดยให้คิดเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด เช่นในขณะที่คุณออกกำลังกาย หรือกำลังรอรถไฟฟ้า รถเมล์ ให้ลองนึกบรรยายเหตุการณ์ต่างๆ บอกเล่าเรื่องราวในหัวคุณให้เป็นภาษาอังกฤษ คุณจะรู้สึกผ่อนคลาย เพราะนี่เป็นเพียงความคิด ยังไม่ได้พูดจริงๆ
9. พูดด้วยคำศัพท์ที่แตกต่าง
ดูดีมีความคิดสร้างสรรค์
สองอุปสรรคใหญ่ที่ทำให้การพูดภาษาอังกฤษดูไม่คล่องแคล่วมั่นใจ นั่นก็คือ “ไม่รู้ศัพท์ และ การหยุดหรือลังเล” ซึ่งทั้งสองอย่างนี้มักมาพร้อมกันเสมอ หลายครั้งที่คุณพูดภาษาอังกฤษแต่นึกคำศัพท์ไม่ออก นั่นก็เป็นอุปสรรคหนึ่งที่ทำให้เราพูดภาษาอังกฤษไม่ได้ เออๆ อ่าๆ...เพราะมัวแต่คิดถึงคำศัพท์ที่เคยท่องไว้ คราวนี้เราลองมาเปลี่ยนวิธีใหม่ ถ้านึกไม่ออกก็ไม่เป็นไร ลองหาคำอื่นมาอธิบายขยายความเอาก็ได้
ถ้าคุณจะบอกว่า “หัวหอม” ภาษาอังกฤษคือ “onion” แต่นึกคำศัพท์ไม่ออกก็ให้อธิบายไปว่า “the white vegetable that when you cut it you cry” นี่เป็นคำบรรยายที่เข้าใจได้ ว่าสิ่งที่คุณกำลังจะสื่อสารหมายถึงอะไร รวมไปถึงคำศัพท์อื่นๆ ที่จะใช้แทนกันได้ในภาษาอังกฤษ เช่น การกล่าวทักทาย ที่นอกจาก “hello” แล้วมีคำว่าอะไรบ้าง หรือการกล่าวลา วลีของการล่ำลาในภาษาอังกฤษนั้นก็มีมากมายหลายสถานการณ์ด้วยกัน
10. ใช้ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวันให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้
เปลี่ยนสภาพแวดล้อมของคุณให้เต็มไปด้วยภาษาอังกฤษ ถือเป็นการฝึกฝนไปในตัว แต่ถ้าจะให้ง่ายและรวดเร็วที่สุดนั่นก็คือ“พยายามหาเพื่อนที่เป็นชาวต่าชาติ” นอกจากจะได้เพื่อนแล้ว เรายังได้ฝึกภาษาด้วย ที่สำคัญเพื่อนชาวต่างชาตินี่แหละที่จะช่วยคุณแก้ไขคำผิด ทั้งคำศัพท์ รูปประโยคและหลักไวยากรณ์ต่างๆ ให้คุณได้ พยายามหาเพื่อนฝรั่งคุยแชทบ้าง คุย Skype บ้าง เพื่อเป็นการฝึกภาษาและฟังสำเนียงที่ถูกต้องนั่นเอง
แนะนำให้ใช้ภาษาอังกฤษทุกวันๆ ละ 10 นาที และจะดีมากๆ ถ้าคุณใช้ภาษาอังกฤษมากกว่า 1 ชั่วโมง ต่อสัปดาห์ แม้ว่าคุณจะไม่ได้อยู่ในประเทศที่พูดภาษาอังกฤษ แต่ก็ยังมีวิธีอีกมากมายที่จะทำให้ภาษาอังกฤษมีส่วนร่วมในชีวิตประจำวันของคุณ เช่น ฟังภาษาอังกฤษในขณะที่คุณกำลังขับรถไปทำงาน, อ่านข่าวหรือฟังข่าวออนไลน์เป็นภาษาอังกฤษแทนภาษาไทย, ฝึกการคิดเป็นภาษาอังกฤษในขณะที่คุณกำลังทำงานบ้านหรือออกกำลังกาย, อ่านบทความ ฟังพอดคาสต์ หรือดูวิดีโอภาษาอังกฤษในแบบที่คุณชอบ เป็นต้น
ที่มาhttp://www.manager.co.th/Campus/ViewNews.aspx?NewsID=9570000135614
อยากเก่งอังกฤษเริ่มได้ด้วยตัวคุณ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)